การพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการด้านการวิจัย พัฒนาให้บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน พร้อมทั้งกำหนดเขตการใช้ที่ดินที่เหมาะสมเพื่อการผลิต และให้บริการข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านต่างๆ ที่ถูกต้องทันสมัย และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการพัฒนาที่ดิน การฟื้นฟูปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน รวมไปถึงพัฒนาหมอดินอาสา เกษตรกร และกลุ่มเกษตรกร ให้มีความรู้ความเข้าใจการพัฒนาที่ดินเพื่อเป็นรากฐานการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง โดยมีวัตุถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรที่ดินควบคู่กับการรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมให้เป็นฐานการผลิตทางการเกษตรที่มั่นคง ปลอดภัย และยั่งยืน และเพิ่มศักยภาพและสร้างโอกาสการเรียนรู้การพัฒนาที่ดินอย่างยั่งยืน ให้แก่บุคลากร เกษตรกร และชุมชน เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย นำไปสู่การพึ่งตนเอง
ด้านการปฏิรูปที่ดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงเห็นว่า การปฎิรูปที่ดินเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินเป็นของตนเองได้ ซึ่งสอดคล้องกับโครงการจัดพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หุบกระพง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นการผสมผสานแนวคิดในการจัดที่ดิน พัฒนาที่ดิน และพัฒนาสถาบันสหกรณ์เข้าด้วยกัน พระองค์จึงทรงให้การสนับสนุนงานปฏิรูปที่ดิน โดยพระราชทานที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปที่ดิน ในประเทศไทย ในปี 2518 เนื้อที่ 44,369 -0-87 ไร่ ใน 5 จังหวัด คือ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ฉะเชิงเทรา และ นครนายก ปัจจุบัน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้จัดให้เกษตรกร จำนวน 2,976 ราย เข้าทำประโยชน์พร้อมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน คลองส่งน้ำ คลองระบายน้ำ และขุดสระน้ำเพื่อการเกษตร นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชบายเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดิน คือ ทรงมีพระราชประสงค์ให้เกษตรกรผู้เช่าที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อยู่เดิม ได้ทำกินอยู่ในที่ดินนั้นตลอดไป ชั่วลูกหลาน แต่จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น รวมทั้งจัดให้มีการพัฒนาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพเดิมของท้องถิ่น และให้รวมกลุ่มเกษตรกรจัดตั้งเป็นสหกรณ์ ซึ่ง ส.ป.ก. ได้น้อมรับพระบรมราโชบายดังกล่าว นำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานจนทุกวันนี้
การพัฒนาและปฏิรูปที่ดิน
- เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน
- กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
- พื้นที่การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
- การอนุรักษ์ดินและน้ำ
- การใช้ประโยชน์ที่ดินและการปรับปรุงบำรุงดิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น